เครื่องสำรองไฟ (UPS) ใช้แล้วจะติดใจ

เครื่องสำรองไฟ (UPS) ใช้แล้วจะติดใจ

UPS-01-34  จังหวะตอนเขียนบทความนี้เป็นหน้าร้อนแต่มีลมพายุเข้าพัดกระหน่ำ ไฟก็ติดๆดับๆและอีกไม่นานก็จะเข้าหน้าฝนปัญหาเรื่องไฟตกไฟดับก็จะมีมากขึ้น แต่ปัญหาเรื่องไฟฟ้าก็ไม่ได้มีเฉพาะช่วงฝนฟ้าคะนองเท่านั้นมันเกิดขึ้นอยู่แทบทุกวันอยู่แล้ว

วันนี้เลยหยิบเรื่องเครื่องสำรองไฟมาเล่าสู่กันฟังสักหน่อย สิ่งที่น่ากลัวสำหรับไฟบ้านกับเครื่องใช้ไฟฟ้าคือไฟตกและไฟกระชาก ที่จะทำให้เกิดความเสียหายหรือทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าของเราเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ในคอมพิวเตอร์อันดับแรกที่เสี่ยงจะเสียหายคือฮาร์ดดิสที่เก็บข้อมูล

เครื่องสำรองไฟในปัจจุบันสำหรับผู้ใช้ตามบ้านหรือสำนักงานทั่วไปนอกจากสำรองไฟไว้ใช้เมื่อไฟดับยังสามารถตรวจกระแสไฟว่ามากหรือน้อยเกินกว่าปกติและจะตัดไปใช้ไฟจากแบตเตอรี่เพื่อความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกด้วย

รายละเอียดที่น่าสนใจของเครื่องสำรองไฟคือ

1. ยี่ห้อ จากประสบการณ์แล้วเครื่องสำรองไฟมียี่ห้อคุ้นหูมักจะทำงานได้ดีกว่า ที่เคยเจอจะๆกับคอมฯ 2 เครื่อง เครื่องนึงต่อผ่านเครื่องสำรองไฟโนเนม อีกเครื่องนึงต่อตรงจากปลั๊กไฟ(ไม่ผ่านเครื่องสำรองไฟ) ผลปรากฎว่าเมื่อไฟตกคอมฯที่ต่อตรงไม่ผ่านเครื่องสำรองไฟใช้งานได้อย่างปกติ ส่วนเครื่องที่ต่อผ่านเครื่องสำรองไฟโนเนมกลับรีสตาร์ทเฉยเลย ผมก็ส่งไปเคลม 5 รอบ 5 เครื่องกลับมาก็เป็นเหมือนเดิม ทำใจทิ้งไปเลย แต่หลายยี่ห้อใช้งานได้ดีก็มีเหมือนกัน

2. ช่องต่อใช้งาน เลือกตามการใช้งานที่ต้องการ แบ่งเป็น 4 ชนิด คือ

2.1 ช่องต่อสายไฟขาออก มีจำนวนกี่ช่องพอใช้งานไหม รูปร่างช่องเป็นแบบไหน แบน , กลม , Universal , IEC 320 C13 ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าของเราได้หรือไม่ หรือต้องหาตัวเสริมเพิ่มอีก

2.2 ช่องต่อสำหรับกันไฟกระชากเท่านั้น หรือ Surge Protection เป็นช่องใช้สำหรับกันไฟกระชากเท่านั้นไม่มีการสำรองไฟเมื่อไฟดับ เอาไว้ใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟสูงๆเช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์เจ็ท

2.3 ช่องต่อสายโทรศัพท์ เอาไว้กันฟ้าผ่ามาตามสายโทรศัพท์ไม่ให้ผ่านไปถึงเครื่องโทรศัพท์ แฟกซ์ หรืออุปกรณ์อื่นๆที่ต่อพ่วง

2.4 ช่องต่อเชื่อมข้อมูลกับคอมฯ สำหรับต่อกับคอมฯมีซอร์ฟแวร์ให้กำหนดค่าต่างๆ เช่น ปิดเสียงปี๊ป , สั่งให้คอมฯปิดเมื่อแบตเตอรี่เหลือน้อย , ดูสถานะปัจุบันของแบตเตอรี่ , ดูว่าปัจจุบันอุปกรณ์เราใช้ไฟกี่วัตต์ ฯลฯ

3. ความสามารถในการจ่ายไฟ VA และ วัตต์

UPS-04-02-43.1 VA บอกถึงระยะเวลาในการจ่ายไฟ เช่น 500VA 800VA ตัวเลขมากจะจ่ายไฟได้นานกว่าตัวเลขน้อยเมื่อโหลดเท่ากัน คอมฯ 1 เครื่อง จอ 23 นิ้ว กินไฟประมาณ 120 วัตต์ ขนาด 500VA ก็สำรองไฟได้ 10-15 นาที ถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับใช้งาน

3.2 วัตต์ บอกถึงความสามารถของการจ่ายไฟได้ปริมาณมากสุดเท่าที่ระบุไม่ควรใช้เกิน เช่น 300วัตต์ แต่โหลดใช้ 400 วัตต์ เวลาไฟดับหรือไฟตกเครื่องสำรองไฟก็จะตัดเข้าสู่โหมดโอเวอร์โหลดและจะไม่จ่ายไฟให้อุปกรณ์ผลคืออุปกรณ์นั้นก็จะดับตามไฟหลัก และอาจทำให้เครื่องสำรองไฟเสียหาย

UPS-06-02แบตเตอรี่โดยทั่วไปจะมี 2 ขนาด คือ 7 แอมป์ และ 5 แอมป์ ซึ่งความจุและรูปทรงจะแตกต่างกัน เครื่องสำรองไฟบางเครื่องก็สามารถเลือกใส่ได้ทั้ง 2 ขนาด บางเครื่องก็ใส่ได้ขนาดเดียว

สรุปแบบรวมๆ

เครื่องสำรองไฟที่น่าใช้และน่าเชื่อถือราคาประมาณ 1,700 บาท ขึ้นไป

ใช้ได้ 1-2 ปี จึงเปลี่ยนแบตเตอรี่ (แล้วแต่คุณภาพของแบตเตอรี่)

แบตเตอรี่ราคาก้อนละ 500 – 700 บาท (รุ่นทั่วๆไปใช้ 1 ก้อน)

ฮาร์ดิสเสียจากเรื่องไฟ ถ้าฮาร์ดดิสมีประกันก็เคลม ใช้เวลาหน่อย

ข้อมูลที่กำลังทำงานอยู่ รูปภาพที่เก็บไว้ในฮาร์ดดิส…หาย

คนที่เคยใช้หรือใช้อยู่จะทราบว่าเครื่องสำรองไฟช่วยลดปัญหาไฟฟ้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าของเราได้มากเลยครับ และช่วยลดการเสียเวลาจากการซ่อมบำรุงหรือส่งเคลม แม้ฝนฟ้าคะนองก็ยังใช้คอมฯหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างสบายใจ

ส่วนผมใช้แล้วติดใจและอุ่นใจ ใช้มาตลอดทั้งกับคอมฯ , ระบบเครือข่าย เช่น โมเด็มเร้าเตอร์, Wireless, Network Storage, Switch Hub ,  ระบบ CCTV และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆที่สามารถใช้กับเครื่องสำรองไฟได้

วันนีี้ลาไปเพียงเท่านี้…สวัสดี

📊 22,053 views

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า